ได้ศึกษาวีดิโอของคุณเอทั้ง 9 ชุด ชุดที่ 10 ยัง เพราะคิดว่าคงไกลเกินไป
ชอบมากค่ะ เสียดายที่ได้พบกันช้า…แต่ก็ไม่สาย

มีประเด็นที่จะปรึกษา คือ จะเกษียณราชการครู 30 ก.ย. 60 เหลือเวลาอีก 2 ปี 5 เดือน
และปัจจุบันเป็นสมาชิก กบข  ซึ่งคุณเอคงทราบดีว่า กบข เปิดโอกาสให้สมาชิกเลือกดังนี้

  • อยู่กับ กบข ต่อจนเกษียณ
    เมื่อเกษียณจะได้รับเงินก้อนประมาณ 1.5 ล้านบาท ณ วันเกษียณ
    พร้อมรับบำนาญรายเดือน (บำนาญสูตร กบข.)
    ซึ่งจะได้ น้อยกว่าการไม่เป็นสมาชิก ราวๆ 10,000 บาท/เดือน[gap height=15]
  • ลาออกจาก กบข. เพื่อรับบำนาญสูตร พศ. 2494
    แบบนี้ได้เฉพาะบำนาญ ซึ่งมากกว่าราว 10,000 ต่อเดือน 
    และจะได้รับเงินสะสมและผลประโยชน์ของตัวเองคืน
    ประมาณ 4.8 แสนบาท ในเดือน ต.ค. 58

ทั้งนี้ ต้องแสดงความจำนงต่อ กบข ภายใน 30 มิถุนายน 58 นี้
ซึ่งขณะนี้ยังลังเล ตัดสินใจไม่ได้ ไม่มีหลักการ หรือเครื่องมือบริหารเงินมาช่วยในการตัดสินใจ

พยายามหาความรู้ ออนไลน์ จนเจอ a-academy.net ของคุณเอ
จึงศึกษาๆๆๆ ด้วยความใฝ่เรียนรู้ด้วยความเป็นครู
เพื่อจะเอาวีดีโอบางส่วนเข้าสู่ห้องเรียนซึ่งหาไม่ได้เลยในหลักสูตรของไทย

โดยส่วนตัวโน้มเอียงมาทางเป็นสมาชิก กบข ต่อ
แต่หากเอาเงินมาฝากแบงค์ ก็กังวลค่าเงินที่ลดลง จึงขอคุณเอช่วยแนะนำว่า

  • ถ้าไม่ Undo จะจัดพอร์ตและวางเงินไว้ที่ใด
    ที่จะสามารถชดเชยส่วนต่างบำนาญเกือบ 10,000 บาท/เดือนได้ หรือ[gap height=15]
  • ถ้าเลือก Undo ควรบริหารเงินก้อน 4.8 แสนบาทอย่างไร
    ให้ได้ใกล้เคียงกับเงินก้อนที่จะได้รับถ้าอยู่กับ กบข.

ทั้งนี้ เงินก้อนนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน แต่ต้องการให้โตในระยะ 10 -15 ปี

ไม่ทราบว่าให้รายละเอียดเพียงพอต่อการพิจารณาหรือไม่
อันที่จริงอยากเชิญมาให้ความรู้ครู ที่จังหวัดน่านจังเลย เรียกว่ามาโปรดครูชายขอบ

ขอบคุณนะคะ


คำตอบ

ผมขอตอบผ่านทางวิดีโอด้านล่างนี้นะครับ ^_^

2 COMMENTS

  1. ผมขอเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำตอบ กบข. นะครับ
    สิ่งที่ยังขาดหายไปไม่ได้นำมาคิดคำนวณคือ บำเหน็จตกทอด 30 เท่าของเงินบำนาญ และเงินช่วยเหลือทำศพ 3 เท่า
    ผู้หญิง/ผู้ชายอายุไขเฉลี่ยต่างกัน โดยผู้หญิงไทยอายุไขเฉลี่ยมากกว่าผู้ชายประมาณ 6 ปี
    กบข. เกิดขึ้นจากสาเหตุที่รัฐบาลรู้ว่าแนวโน้มอายุขัยเฉลี่ยของคนไทยจะสูงขึ้น จะเป็นภาระแก่รัฐ รัฐต้องใช้เงินมากขึ้น จึงคิดหาทางลดภาระของรัฐ โดยกำเนิด กบข. ,โครงการเกษียณก่อนกำหนด รวมถึงลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลต่างๆ , เงินเบิกค่าเช่าบ้าน ปัจจุบันไม่ให้เบิกได้ทุกอย่างเหมือนอดีต
    เงินบำนาญไม่ได้จำนวนเท่าเดิมตลอดชีวิต บางครั้งรัฐอาจใจดีเพิ่มให้เช่นปี 58 นี้ เพิ่มให้ 4 %

    • ขอบคุณคุณชูเจตต์มากๆ ครับ ที่ช่วยเสริมให้การพิจารณาสมบูรณ์ขึ้นครับ

Leave a Reply to A Cancel reply

Please enter your comment!
Please enter your name here